เมนู

เมื่อจะทรงยังสมบัติอันคนเฝ้านา จะพึงได้เสวย ให้แจ้งชัด จึงได้ตรัสกะคน
เฝ้านาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ด้วยผลแห่งการที่ภิกษุ ผู้มีจิตสงบแล้ว ไม่มี
อาสวะ อยู่ในกระท่อมของท่านนั้น ท่านจักได้เป็น
จอมเทพ ท่านจะได้เป็นจอมเทวัญ เสวยราชสมบัติใน
หมู่เทพ 36 ครั้ง จักได้เป็นจอมจักรพรรดิ ในแว่น
แคว้น 34 ครั้ง จักได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้
ปราศจากราคะ นามว่า รัตนกุฏี ดังนี้.

จำเดิมแต่นั้นมา พระเถระ ก็ได้เกิดสมัญญานามว่า กุฏิวิหารีเถระ
ทีเดียว เพราะเป็นนามพิเศษที่ท่านได้ในกระท่อม. ก็คาถานี้แหละ ได้เป็น
คาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถากุฏิวิหารีเถรคาถา

7. ทุติยกุฏิวิหารีเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุฏิวิหารีเถระ


[194] ได้ยินว่า พระกุฏิวิหารีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กุฎีนี้เป็นกุฎีเก่า ท่านปรารถนากุฎีใหม่ ก็จงละ
ความหวังในกุฎีใหม่เสีย ดูก่อนภิกษุ กุฎีใหม่นำทุกข์
มาให้.

อรรถกถาทุติยกุฏิวิหารีเถรคาถา


คาถาของท่านพระกุฏิวิหารีเถระเริ่มต้นว่า อยมาหุ ปุราณิยา. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายพัดที่สานอย่างวิจิตรด้วย
ผลิตภัณฑ์ไม้อ้อ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในฤดู
ร้อน พระศาสดาทรงยังเขาให้รื่นเริง ด้วยพระคาถาอนุโมทนา ในข้อความใด
ที่ยังมีข้อหลงเหลืออันควรกล่าวถึง ข้อความนั้นก็เหมือนกับที่กล่าวไว้แล้ว ใน
เรื่องของพระอัญชนวนิยเถระ ส่วนข้อที่แปลกกันมีดังนี้
ได้ยินว่า พระเถระนี้บวชแล้ว โดยนัยดังกล่าวแล้วอยู่ในกุฏิเก่าหลัง-
หนึ่ง ไม่คิดจะบำเพ็ญสมณธรรม คิดแต่จะก่อสร้างอย่างเดียวว่า กุฏิของเรา
เก่าแล้ว เราควรทำกุฏิหลังใหม่. เทวดาผู้ใคร่ประโยชน์ต่อท่าน กล่าวคาถานี้
ที่มีความชวนให้สลดใจ ภาษาง่าย ๆ แต่มีใจความลึกซึ้งว่า
กุฎีนี้เป็นกุฎีเก่า ท่านปรารถนากุฎีใหม่หลังอื่น
ก็จงละความหวังในกุฎีใหม่เสีย ดูก่อนภิกษุ กุฎีใหม่
นำทุกข์มาให้ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยํ เป็นคำชี้ให้เห็นสิ่งที่อยู่ใกล้. บทว่า
อหุ มีความหมายว่า ได้มีแล้ว เพื่อความสะดวกในการประพันธ์คาถา ท่านจึง
กล่าวเป็นทีฆะ.
บทว่า ปุราณิยา ความว่า มีมาในกาลก่อน คือ มีมานานแล้ว.
บทว่า อญฺญํ ปตฺถยเส นวํ กุฏึ ความว่า ท่านปรารถนา คือ
ประสงค์ ได้แก่อยากได้กุฏิชื่อว่าหลังใหม่ เพราะเป็นกุฎิที่จะพึงบังเกิดในบัดนี้